เผยแพร่แล้ว: ธ.ค. 15, 2016
 
   
 
  คำสำคัญ:
  ยา Tranexamic acid
  การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
  การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม
 
   
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 
   
 
 
 
    Language
 
      English  
      ภาษาไทย  
 
 
    Information
 
      สำหรับผู้อ่าน  
      สำหรับผู้แต่ง  
      สำหรับบรรณารักษ์  
 
 
    Home ThaiJo
 
   
 
 
 
    Manual
 
      For Author  
      For Reviewer  
 
 
    เว็บไซต์
 
      โรงพยาบาล
    เจริญกรุงประชารักษ
 
      www.ckphosp.go.th  
 
 

 

 
     
 
 
     
     
 

การใช้ยา Tranexamic Acid ทางหลอดเลือด
เพื่อลดการสูญเสียโลหิตจากการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม

 
     
     
 
รัตนชัย เพ็ชรสมบัติ
นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว
ปรัชญา แก้วแก่น
อาจารย์ประจำวิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา


บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาโปรแกรมบริหารสมองแบบประยุกต์สำหรับลดความเครียดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เปรียบเทียบระดับความเครียดในกลุ่มทดลองหลังจากใช้โปรแกรมบริหารสมองแบบประยุกต์ และเปรียบเทียบระดับความเครียดระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมหลังจากใช้โปรแกรมบริหารสมองแบบประยุกต์        


วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลัง การศึกษาประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ 1.การพัฒนาโปรแกรมบริหารสมองแบบประยุกต์ และ 2.การนำโปรแกรมบริหารสมองแบบประยุกต์ไปใช้กับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างคือ อาสาสมัครผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 60 คน ที่มารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านวังใหม่โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย หลังจากนั้นใช้การสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย คู่มือการฝึกบริหารสมองแบบประยุกต์ แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานผู้ป่วยโรคเบาหวาน แบบรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของระดับน้ำตาลสะสมในเลือด (Hemoglobin A1c) ระดับคอร์ติซอล (Cortisol) ในเลือดและแบบประเมินวิเคราะห์ความเครียดด้วยตนเอง ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข                 


ผลการวิจัยพบว่า สามารถพัฒนาโปรแกรมบริหารสมองแบบประยุกต์ที่มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดได้จากการทดลองใช้เบื้องต้น (Pilot Study) ในผู้ป่วยเบาหวาน 10 คน และตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านและหลังจากได้นำมาใช้กับอาสาสมัครการวิจัยพบว่าสามารถลดความเครียด ลดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลและลดระดับน้ำตาลสะสมในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในกลุ่มทดลองเมื่อเทียบกับก่อนและหลังการใช้โปรแกรมดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)  นอกจากนั้นยังพบว่าหลังการใช้โปรแกรมบริหารสมองแบบประยุกต์กลุ่มทดลองมีระดับความเครียด (22.23 คะแนน) ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (38 คะแนน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) 


บทสรุป:โปรแกรมบริหารสมองแบบประยุกต์ เป็นกิจกรรมที่สามารถทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีระดับความเครียดและระดับน้ำตาลสะสมในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


 คำสำคัญ: ความเครียด / เบาหวานชนิดที่ 2 / โปรแกรมบริหารสมองแบบประยุกต์

 
     
     
     
 
   ฉบับ  

    ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 (2017): มกราคม - มิถุนายน 2560

 
 
     
     
 
   บทความ  
    Original Article  
 
     
     
     
 

References

1. American Diabetes Association. Diagnosis and classification of diabetes mellitus. Diabetes Care 2011; 34:62-9.

2. นุชรี อาบสุวรรณและนิตยา พันธุ์เวช. ประเด็นสารรณรงค์วันเบาหวานโลกปี 2556 (ปีงบประมาณ 2557). กรุงเทพฯ:วารสารสำนักโรคไม่ติดต่อ,2557.

3. สมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี.แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับเบาหวาน. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: บริษัทศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด; 2554.

4. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. คู่มือการปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.). พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การทหารผ่านศึก;2556.

5. สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.การทบทวนวรรณกรรมสถานการณ์ปัจจุบันและรูปแบบการบริการด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ: บริษัทอาร์ต ควอลิไฟท์ จำกัด; 2557.

6. Maiese, Morhan & Zhao Zhong Chong .Oxidative Stress Biology and Cell Injury During Type 1 and Type 2 Diabetes Mellitus. Curr Neurovasc Res 2007; 4: 63-71.

7. Huth C, Thorand B, Baumert J, Kruse J, Emeny RT, Schneider A, et al . Job strain as a risk factor for the onset of type 2 diabetes mellitus: findings from the MONICA/KORA Augsburg cohort study. Psychosom Med 2014; 7: 562-568.

8. จรุญ ไตรวุฒิและพูลพงษ์ สุขสว่าง.โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความไว้วางใจในแพทย์และความยึดมั่นในคำแนะนำของแพทย์ที่มีต่อผลลัพธ์การควบคุมบาหวานของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต].ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2555.

9. วอรด, แดลี่.วิธีสั่งสมองให้เรียนเก่ง. แปลจาก Brain Gym.แปลโดย ดุษฏี บริพัตร ณ อยุธยา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์รักลูกกรุ๊ป. 2549.

10. Denison & Denison. Brain Gym. Edu-Kinesthetics, Inc. 1989.

11. Christensen L. B, Jonhson R. B, Turner L. A. Research Methods, Design, and Analysis.11th ed. Boston: MA Pearson.2011.

12. ประสาร เปรมะสกุล.คู่มือการแปลผลการตรวจเลือด.พิมพ์ครั้งที่ 6.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัดอรุณการพิมพ์; 2554.

13. สุชาดา กรเพชรปาณี.วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. ภาควิชาวิจัยและวัดผลการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.2547.

14. Joyce B, Weil M, Callhoun. Models of teaching. Boston: Allyn and Bacon, 2004.

15. สุขพัชรา ซิ้มเจริญ.การบริหารสมองของคนทุกวัย.กรุงเทพฯ: สวัสดีการพิมพ์; 2549.

16. พัชรีวัลย์ เกตุแก่นจันทร์.การบริหารสมอง.กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์; 2544.

17. Robin, L.W. Thomas, H.C. Video training of imagery of mature adults. Applied cognitive Psy 2006; 6, 307-20.

18.นันทิกา ทวิชาชาติ. ความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาสัมพันธภาพระหว่างบุคคลกับโรคซึมเศร้าในผู้ป่วยซึมเศร้าไทย: การศึกษาโดยมีกลุ่มควบคุมแบบจับคู่.วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย.2551 ; 53: 1: 69-80

19. วิบูลย์ วิรัชนีกรพันธ์.บริหารสมอง Brain Gym .กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ขวัญข้าว; 2546.